คุณสมบัติ
-
- จบแพทยศาสตร์บัณฑิต
- มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย
- เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตร หรืออนุมัติบัตรฯ หรือหนังสือรับรองจากแพทยสภาแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิสัญญีวิทยา
- ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันต่างประเทศ ที่เทียบเท่าคุณสมบัติในข้อ 3 โดยการรับรองของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เข้าเกณฑ์และสมัครตามข้อบังคับและข้อกำหนดของแพทยสภา
- เป็นแพทย์ประจำบ้านปีสุดท้ายในสาขาวิสัญญีวิทยา
- เป็นผู้มีสิทธิสอบเพื่อหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรฯ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยาในปีการศึกษานั้น กรณีที่สอบวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขา วิสัญญีวิทยาไม่ได้ ให้ถือว่าไม่ผ่านการคัดเลือก
- มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง
ไม่จำกัดผลการเรียน (GPAX) ในอดีต
ไม่จำกัดเพศ ศาสนา
ไม่จำกัดภาวะทุพลภาพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียน
เกณฑ์การคัดเลือก
ภาควิชาฯ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย
-
- อาจารย์ประจำอย่างน้อย 3 ท่าน
- แพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขา 1 ท่าน
คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมและเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม เป็นไปตามการแต่งตั้ง และหลักเกณฑ์ของภาควิชาวิสัญญีวิทยา โดยยึดหลักความโปร่งใส เท่าเทียม มีจริยธรรม และตรวจสอบได้
ช่วงเวลาสัมภาษณ์
เดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี
เกณฑ์การประเมินในหัวข้อ
-
- ความสามารถในการเรียนรู้ (20)
- ทักษะหัตถการ (10)
- ความสามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา (20)
- จริยธรรม (20)
- ความรับผิดชอบ (10)
- ความเสียสละ (10)
- มนุษยสัมพันธ์ (5)
- การแสดงออก (5)
การประชุมหาข้อสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการ สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์
การประกาศผลการคัดเลือก
ประกาศภายใน 3 วันหลังจากวันที่ประเมิน (แจ้งส่วนตัว) และภายใน 5 วัน (หน้าเวป-แพทยสภา)
การอุทธรณ์ผลการคัดเลือก
ติดต่อประธานหลักสูตรอนุสาขาภายใน 7 วันทำการจากวันที่รับทราบผลเป็นทางการ โดยผู้สมัครสามารถขอเข้ารับคำชี้แจงเหตุผล และคะแนนของตนเองได้ หากได้รับคำชี้แจงแล้ว อาจทำการอุทธรณ์ผลการคัดเลือกได้ครั้งที่ 2 ผ่านทางแพทยสภา